ผู้ประกอบการสเต็กบุฟเฟ่ต์วอนรัฐบาลใหม่ ช่วยลดภาษี ชะลอขึ้นค่าแรง ลดส่งประกันสังคม หวั่นน้ำท่วมพืชผัก วัตถุดิบต่างๆ จะขยับราคาขึ้น เผยไม่ขอปรับราคาแบกรับต้นทุนที่สูงเอาไว ถึงวัตถุดิบต่างๆ เครื่องปรุงพาเหรดขึ้นราคาไปแล้ว โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ต่างๆ ปรับขึ้นลงกระทบไม่ใช้น้อย หากปรับขึ้นไม่สามารถปรับลงมาได้ ไม่อยากเห็นธุรกิจล้มต่อเนื่องรัฐบาลใหม่อย่าช้า
วันนี้ผู้สื่อข่าวพาไปร้านสเต็กบุฟเฟ่ต์ ป้าเหมย ย่านสันติธรรม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งร้านที่ยังยืนราคาสเต็กบุฟเฟ่ต์ ราคา 229 มีให้ลูกค้าได้รับประทานเมนูสเต็ก ของทอด สลัด ของกินเล่น น้ำดื่ม ไอศครีม มากกว่า 50 -60 ชนิด นายวรัญญู แซ่ลี้ เจ้าของร้านกล่าวว่าขายในราคานี้มานานแล้ว ตั้งแต่หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ผลตอบรับเป็นอย่างดี แต่มาช่วงต้นปีปัจจัยทางเศรษฐกิจส่งผลให้วัตถุดิเครื่องปรุงต่างๆ ทะยอยปรับขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่บางช่วงราคาสูงมาก ยอมรับว่าเกิดผลกระทบต่อต้นทุนอย่างแน่นอน แต่ก็เข้าใจ คงขายราคาเดิมให้กับลูกค้า แบกรับต้นทุนไว้ก่อน ก็มีการปรับเปลี่ยนบางเพื่อให้เกิดความสมดุล เพื่อไม่ให้ขาดทุนมาก ร้านจะเปิดตั้งแต่12.00 – 22.00 น. ในแต่ละช่วงวันจะมีลูกค้าเข้ามามากน้อยในแตกต่างกัน แต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากันมากๆ เที่ยง และช่วงเย็นค่ำๆ ทางร้านจะปรุงอาหารออกมาในตามช่วงเวลาของลูกค้า จะไม่ปรุงไว้ก่อนเพราะจะขาดรสชาติ ความสดใหม่จะหมดไป ทั้งเป็นการลดต้นทุนเพราะปรุงไว้แล้ว ไม่มีลูกค้านำมาอุ่นจะทำให้เสียรสชาติเมื่อลูกค้ารับประทานข้าไปแล้ว เพราะที่นี่เน้นปรุสดใหม่ เหมือนได้รับประทานอยู่ที่บ้าน ที่สำคัญของจะไม่ปรุงทิ้งปรุงขวางไป จะทำให้ขาดทุนเพราะของต้องทิ้ง
อย่างไรก็ตามฝากถึงรัฐบาลใหม่ ขอช่วยลดภาษี เป็นอีกหนึ่งของต้นทุนขึ้นสูง ภาษีโรงเรือนที่ปรับขึ้น ต้นทุนการเช่าก้ตองปรับตามเพราะเจ้าของจ่ายมากขึ้นก็ต้องมาเก็บค่าเช่าเพิ่มขึ้น ชะลอการปรับขึ้นค่าแรง หากค่าแรงเพิ่มต้นทุนเพิ่ม แต่รายรับไม่เพิ่มตามก็จะกระทบหนักมาก ขณะเดียวกันช่วยลดค่าส่งประกันสังคมก็จะช่วยลดต้นทุนในระยะสั้นลงได้อีกเช่นกัน ตอนนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ แหล่งผลิตพืชผักทางการเกษตร ฝนตกหนักต่อเนื่องผลกระทบเกิดขึ้นแน่นอนราคาที่จะต้องปรับขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับเป็นปัจจัยของตลาด ขอให้เป็นระยะสั้นๆ หากระยะยาวผลกระทบเกิดขึ้นอย่างแน่นอน รัฐบาลใหม่ต้องหามาตรการเข้ามาช่วยเหลือให้เร็วขึ้น ต่อผู้ประกอบการSME และร้านอาหาร ที่ได้รับผลกระทบมาต่อเนื่อง
ทั้งนี้ พบว่าผู้ประกอบในด้านต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ ทะยอยปิด หยุดประกอบกิจการไปจำนวนมากขึ้น เพราะต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่รายรับลดลงการใช้บริการต่างๆ ไม่ค่อยมี แม้กระทั้งตามตลาดต่างๆ ผู้คนออกมาจับจ่ายซื้อลดลง ซื้อเพราะซื้อจำกัดขึ้น จากนี้จะทำให้นักลงทุนเดิมไม่กล้าจะควักเงินออกมาเพื่อรักษาธุรกิจ และนักลงทุนใหม่ก็ไม่กล้าจะเข้ามา ภาครัฐต้องเร่งกระตุ้น หามาตรการเข้ามาให้เร็ว ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีรายได้จากภาคบริการด้านการท่องเที่ยวถึงร้อยละ 70