ชลประทานเชียงใหม่ โชว์นวัตกรรม เครื่องวัดระดับน้ำทางไกลเคลื่อนที่แบบ Real Time

โครงการชลประทานเชียงใหม่ โชว์ผลงานนวัตกรรม เครื่องวัดระดับน้ำทางไกลเคลื่อนที่แบบ Real Time พร้อมนำเสนอผลงานเข้าประกวดนวัตกรรม ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 ประเภทนวัตกรรมบริการ ของกรมชลประทาน


นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายวิสูตร จันทร์เขียว หัวหน้าฝ่ายช่างกล นายกิจพล สิงห์ภักดี หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 และนางสาวชลมาศ ทองคำ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 6 นำผลงานที่ต่อยอดจากผลงานเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การเปิดปิดประตูส่งน้ำแบบอัจฉริยะ สามารถสั่งการผ่านมือถือ ตรวจสอบการไหล ปริมาณน้ำ และคุณภาพน้ำเป็นกรด เป็นด่าง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถดำเนินการได้ จึงได้นำมาต่อยอดในปีนี้ ทีมงานชลประทานเชียงใหม่ จึงได้คิดค้น เครื่องวัดระดับน้ำทางไกลเคลื่อนที่แบบ Real Time สามารถตรวจสอบผ่านระบบมือถือ เป็นเครื่องขนาดเล็กสามารถติดได้ง่าย ซึ่งต้องการตรวจวัดปริมาณระดับของน้ำได้ตลอดทั้งปี ในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ตามลำน้ำต่างๆ อยู่พื้นที่ภูเขาสูง พื้นที่ห่างไกล ไม่มีกระแสไฟฟ้า นำระบบพลังงานสะอาดใช้โซลาเซลล์เข้ามา ก็สามารถออกแบบ เครื่องดังกล่าว พร้อมนำไปทดลองใช้งานสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำระดับน้ำได้แบบReal Time เป็นปัจจุบันผ่านระบบมือถือ สามารถตรวจของเครื่องวัดระดับน้ำได้ทันที่ มีเครื่องUltrasonic Level ตัวยิ่งคลื่นสะท้อนพื้นท้องน้ำแล้วสะทอนกลับแปลผลผ่านระบบ ก็จะออกมาเป็นระดับ ผลของการตรวจวัดจะแสงดผลออกมาในเว็บไซด์ จะสามารถตรวจสอบระดับน้ำ ทุกพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเท่าไร


อย่างไรก็ตามเครื่องมือตรวจวัดแบบนี้เหมาะแก่ชลประทานที่จะนำไปตรวจวัดระดับน้ำ ตามพื้นที่ห่างไกล บนดอยสูง พื้นที่ไม่มีไฟฟ้า จะทำให้การบริหารจัดน้ำในแต่ละพื้นที่ ในกรณีมีน้ำไหลหลาก ใช้ระบายน้ำแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เช่นผันน้ำเข้าทุงอย่างภาคกลาง พื้นที่ทุ่งบางระกำ ต้องการตรวจสอบระดับ ณ ปัจจุบัน มีระดับน้ำเท่าไร จะสามารถระบายเข้าไปในทุ่ง หรือจะระบายน้ำออกจากทุ่งได้เท่าไร ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการบริหารจัดน้ำ มีระดับน้ำเท่าไรมีปริมาณน้ำเท่าไร แนวโน้มระดับน้ำจะลดลงเท่าไร สามารถนำมาวิเคราะห์ ปริมาณน้ำได้ทุกวัน


ขณะเดียวกันดครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้ร่วมนำเสนอผลงานนวัตกรรม ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 ประเภทนวัตกรรมบริการ กรมชลประทาน ซึ่งมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จำนวนทั้งสิ้น 24 ผลงาน แบ่งออกเป็น นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) 13 ผลงาน นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) 7 ผลงาน นวัตกรรมบริการ (Service Innovation) 4 ผลงาน

SUN โชว์งานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรครั้งที่ 6

SUN โชว์งานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรครั้งที่ 6 ตอกย้ำความสำเร็จในการส่งเสริมนวัตกรรมเกษตรที่ยั่งยืน

บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) หรือ SUN ผลักดันเกษตรกรใช้นวัตกรรมเกษตร เดินหน้าจัดงาน “งานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ 6” มุ่งพัฒนาธุรกิจโตแกร่งควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้สังคมอย่างยั่งยืน ในวันที่ 15 มิถุนายน 2567 ณ ไร่ตะวันหวาน (SUN VALLEY)

นางอัมพันธ์ สุริยัง ผู้อำนวยการฝ่าย Supply chain เปิดเผยว่า SUN งานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร เป็นความมุ่งมั่นในวิสัยทัศน์ของบริษัท ที่เชื่อมโยงความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ เพื่อพัฒนาแนวทางในการสร้างคุณค่าให้กับเกษตรกรและสังคม ขับเคลื่อนการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและระบบ AI เปลี่ยนผ่านเกษตรกรรมไทยแบบดั้งเดิมไปสู่รูปแบบใหม่ ให้เกษตรกรได้เข้าถึงข้อมูลการเกษตรและสามารถปรับปรุงกระบวนการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยงานงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายภาคเอกชนและเกษตรกรไทยที่มีศักยภาพ และจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย ให้เกษตรกรในเครือข่ายและผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ยกระดับเกษตรกรสู่ความเป็นมืออาชีพ สร้างความยั่งยืนด้านวัตถุดิบ และสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม

งาน “นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ 6” เปิดให้เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ การสาธิตใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตรด้านการเกษตรครบวงจร และบูทจัดแสดงความรู้ด้านการเกษตรจากองค์กรพันธมิตรชั้นนำ อาทิ บ.อีสท์เวสท์ซีด บ.แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ บ.ซินเจนทาครอป บ.ไฮโดรไทย บ.เจียไต๋ บ.คอร์เทวา อกริไซเอนซ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ได้จัดเวทีเสวนาให้ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตรเชิงลึกในมิติต่างๆ โดย บ.ลิสเซินฟิลด์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ SUN มุ่งหวังว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป

ส่งเสริมการเกษตรแบบลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำการเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่สูงลดการเผาก่อPM2.5

ส่งเสริมการเกษตรแบบลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หันมาทำการเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่สูงลดการเผาก่อPM2.5 ลดพื้นที่ลดการรุกป่า ใช้พื้นที่น้อยรายได้มาก โดยเฉพาะต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ช่วยเหลือเกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตที่ปลูก


นางสาวเพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการสถาบัน ด้านบริหารจัดการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) กล่าวว่าจากต้นแบบของโครงการหลวง ที่มุ่งให้เกษตรกรบนพื้นที่ หันาทำการเกษตรแบบอินทรีย์เพิ่มขึ้น ซึ่งการเกษตรแบบลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เพิ่มมากขึ้น ลดการใช้พื้นที่ทำการเกษตรแบบเดิมปลูกมากๆ แต่มารายได้น้อย แต่ใช้พื้นที่น้อยมีรายได้ ลดการขยายพื้นที่บุกรุกป่า ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาวัชพืชทางการเกษตรจนกลายเป็นปัญหามลพิษทางอากาศเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ขณะนี้ก็เริ่มต้นส่งเสริมมีเกษตรกรต้นแบบที่หันมาทำได้ผลนอกจากส่งเสริมการปลูก หาผลผลิตที่เหมาะสมต่อพื้นที่ ยังหาตลาดให้กับเกษตรกรสามารถจำหน่ายถึงผู้บริโภค มีตลาดรองรับให้กับเกษตร มีการนำพืชที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่เข้านำไปทำการเกษตรแบบอินทรีย์

ปัจจุบันการเกษตรโดยไม่เผาเริ่มได้รับความสนใจจากเกษตรกร เพราะการทำ 1 โรงเรือนสามารถหมุนเวียนพืชระยะสั้นได้ 9- 10 พร็อพ 1 พร็อพสามรถทำรายได้ถึง 5 พันกว่า เป็นการเกษตรวิถีใหม่ลดผลกระทบต่อส่งแวดล้อมไม่ต้องเผา ทำน้อยได้มาก ต่อ 1 ครัวเรือนสามารถใช้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างพอเพียง เป็นอีกหนึ่งการแก้ปัญหาระดับชาติที่แต่กรทำมากได้น้อย แต่ตอนนี้ทำน้อยได้มาก ตอนนี้ทางสวพส.ต้องเดินหน้าขยายงานให้ครอบคลุมบนพื้นที่สูงซึ่งมีหมู่บ้านเป้าหมายถึง 4 พันกว่าหมู่บ้าน ตอนนี้สามารถดำเนินการไปได้ 2 พันกว่าหมู่บ้านยังไม่ครอบคลุมยังต้องใช้อีกหน่วยงานและชุมชนขับ ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกัน

อีกหนึ่งหมู่บ้านปางมะกล้วย ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตงประสบปัญหาคนหนุ่มสาวออกจากถิ่นเกิด

อีกหนึ่งหมู่บ้านปางมะกล้วย ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตงประสบปัญหาคนหนุ่มสาวออกจากถิ่นเกิด ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านตามลำพัง แต่องค์การบริหารส่วนตำบลป๋าแป๋ แก้ไขปัญหานำงาน นำรายได้ เข้ามาส่งเสริมไม่ให้ผู้สูงอายุเหงา ว่างอยู่ตามลำพัง ร่วมกลุ่มปลุกผักอินทรีย์ ส่งขายกรุงเทพ ผลผลิตไม่เพียงพอส่งขายในขณะนี้ ขณะที่ปรับปรุงการผลิตชาให้แปรรูปได้หลากหลาย อาทิผ้าย้อมใบชา

วันนี้ผู้สื่อข่าวพาไปที่บ้านปางมะกล้วย หมู่ที่ 2 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งชุมชนต้นแบบแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านตามลำพัง คนหนุ่มสาวออกไปเรียนไปทำงาน ไปกลับคืนถิ่น นายมงคล อุดธิมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแป๋ ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการประสานขอทาง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. เข้ามาแนะนำส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุ ราวประมาณปี 2550 โดยใช้การปลูกผักอินทรีย์ ในโรงเรือน เป็นผักที่ตลาดมีความต้องการ ซึ่งปัญหาอีกหนึ่งของบ้านปางมะกล้วย อาชีพดังเดิมปลูกทำเมี่ยงขาย แต่ภายหลังควมต้องการบริโภคของตลาดไม่มี ผู้สูงอายุตองเข้าป่าปลูกบนพื้นที่สูงทำให้เรี่ยวแรงหมดไปตามวัย ประกอบกับคนรุ่นใหม่ออกไปเรียนหนังสือก็ทำงานอยู่ในเมืองไม่กลับถิ่นมาต่อยอดอาชีพเดิม ทำให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านตามลำพัก รายได้ไม่มี ส่งผลกระทบ หลังจากผู้สูงอายุในบ้านปางมะกล้วย ได้ร่วมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนผู้ปลุกผักอินทรีย์ ตำบลป่าแป๋ จำนวน 13 ครัวเรือนเป็นผู้สูงอายุทั้งหมด ปลูกผักในโรงเรือนในพื้นที่เดียวกัน มีนางฉลียว วิไล เป็นประธานกลุ่ม จนเป็นชุมชนต้นแบบแก้ไขปัญหาคนหนุ่มสาวไม่คืนถิ่นได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย มีการเข้ามาศึกษาดูงานจากหลายหน่วยงาน ซึ่งแปลงปลุกผักอินทรีย์นี้ ได้รับการรับรองเป็นแหล่งผลิตที่ได้รับการับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ.9000 เลม 1-2552 โดยกรมวิชาการเกษตร ซึ่งผลผลิตทั้งหมดถูกจำหน่ายไปยังตลาดหลักในกรุงเทพมหานคร ผ่านการตรวจคุณภาพ สารตกค้างก่อนนำไปจำหน่าย ทำใหผู้สูงอายุได้ร่วมกลุ่มแล้วไม่เงียบเหงาอยู่บ้านตามลำพัง มีงาน มีรายได้ คุณภาพชีวิตที่ดีอยู่อย่างมีความสุข ไม่ต้องเข้าป่าขึ้นดอยเก็บเมี่ยงเหมือนในอดีต ตอนนี้ผลผลิตของที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

ขณะเดียวกันได้แก้ไขจากการทำมี่ยง มาผลิตชาอัสสัม ออลที ป่าแป๋ จากการตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชุนแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลป่าแป๋ ต่อยอดสู่การผลิตเสื้อผ้าจากการยอมด้วยใบชา ผลิตภัณฑ์มัดย้อมด้วยใบชา มีชาใบเมี่ยง ชาเมี่ยงรสมะนาว สบู่ชาเมี่ยง น้ำยาล้างจานจากใบชาเมี่ยง ที่การันตีด้วยรางวัลจากการผลิตแปรรูปจากใบชาเมี่ยง ที่สำคัญ ได้รับรางวัลป่าชุมชนรองชนะเลิศระดับภาคเหนือ ประกวดโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ประจำปี 2565 สำหรับผู้สนใจติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลข 062-3987168และ0998631442 มีจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง

โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จัดกิจกรรม ”วันรับบัวต้อนรับน้องใหม่สู่บึงบัว” ประจำปีการศึกษา 2567

     วันที่ 6 มิถุนายน 2567 นายโกวิท หมื่นทา ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ เป็นประธานจัดกิจกรรม “วันรับบัวต้อนรับน้องใหม่สู่บึงบัว”ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีคณะผู้บริหาร ครู และรุ่นพี่ ร่วมกิจกรรม ณ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่
     นายโกวิท หมื่นทา ผู้อำนวยการ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ เปิดเผยว่า วันรับบัวของโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ เป็นงานประเพณีที่จัดขึ้น เพื่อสร้างความผูกพันสามัคคี เป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่ ผู้บริหาร คณะครู นักศึกษาฝึกประสบการณ์ นักเรียนใหม่ เข้าสู่รั้วบึงบัวของโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ที่ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน และสร้างความประทับใจ ในความรักของพี่น้องร่วมสถานศึกษา
     ตลอดจนเพื่อร่วมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมชาวบัวของโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ซึ่งกิจกรรม มีการลอดซุ้มปะแป้ง แจกขนมรับน้องสู่อ้อมใจ มอบตุ๊กตา มอบของเล่น ให้น้องของสายชั้นอนุบาล 2 ที่บริเวณลานจามจุรี กิจกรรมน้อมไหว้บูชาพระธาตุกิตติ กิจกรรมมาลัยรักจากใจพี่ กิจกรรมสายสร้อยร้อยใจ กิจกรรม “พี่ห่วงใยให้ของเล่น จากนั้นพี่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่งน้องกลับเข้าห้อง
      ในปีการศึกษานี้มีนักเรียนใหม่ ทั้งระดับอนุบาล และระดับประถมศึกษา จำนวน 195 คน และมีครูที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ และครูฝึกประสบการณ์ 34 คน โดยโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ได้จัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ โดยผู้บริหารโรงเรียนจะนำขบวนคณะครูใหม่ เดินผ่านแถวนักเรียนที่ตั้งแถวรอ พร้อมกันนี้ระหว่างเดินผ่านทางคุณครูใหม่ก็ได้ทักทายนักเรียนที่รอต้อนรับ พร้อมกับนำขนมแจกให้กับนักเรียน ส่วนนักเรียนก็จะปะแป้งให้กับคุณครู หลังจากเสร็จกิจกรรมทั้งนักเรียนและคุณครู จะแยกย้ายกันไปเรียนและสอนหนังสือในห้องเรียนของตน

จากอัตโมมือ สู่อัตโนมัติ 3 นศ.สาขาพาณิชย์ และสาขาเทคโน โปลิฯช่วยกันพัฒนาถังขยะคัดแยกจากพลังแสงอาทิตย์

จากอัตโมมือ สู่อัตโนมัติ 2 นศ.สาขาพาณิชย์ และ 1 นศ. สาขาเทคโน โปลิฯช่วยกันพัฒนาถังขยะคัดแยกจากพลังแสงอาทิตย์ หลังจากพัฒนาต่อยอด จากถังขยะอัตโนมือ สู่คัดแยกอัตโนมัติ ทดลองใช้วันแรก สามารถคัดแยกขยะพลาสติกจากขวดน้ำ ระบบการคัดแยก และระบบแอพพลิเคชั่น นำเข้ามาช่วยสะสมแต้มรับของรางวัล เพื่อสร้างแรงจูงใจ


วันนี้ผู้สื่อข่าว จะพาไปชมอีกหนึ่งความสามารถของน้องนักศึกษา จากวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา จังหวัดเชียงใหม่ ที่นำถังขยะคัดแยกแบบอัตโนมัติใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จากโซลล่าเซลล์ เป็นเครื่องต้นแบบมาทดลองใช้วันแรก เป็นผลงานของนายวันชัย นายพัน นักศึกษาสาขาการบัญชี นางสาวรุจิรา ไพรวนาวัลย์นักศึกษาสาขาการตลาด ชั้นปวส.ปีที่ 2 และนายหมิว ไม่มีนามสกุล นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปวส.ชั้นปีที่ 1 โดยมีอาจารย์สุรชัย เจริญศรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของโครงการ ซึ่งน้องทั้ง 2 คน จากพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ ที่ได้คิดค้นถังขยะบู้บี้ โดยเป็นถังธรรมดาใช้การคัดแยกจากอัตโนมือเป็นหลัก ซึ่งได้ส่งเข้าประกวดผลงานวิขัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส หลังจากในต้นปีที่ผ่านทางสสส. ต้องการต่อยอดพัฒนาถังขยะบู้บี้อัน จึงได้มาหารือกันร่วมกับน้องหมิว นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปวส.ชั้นปีที่ 1 ที่รู้จักเข้ามาชวยกันคิดพัฒนาต่อยอดจนได้ถังขยะชิ้นใหม่ ที่จะระบบเซ็นเซอร์เข้ามาคัดแยก จัดการโปรแกรมลงไป พร้อมใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลล์ เข้ามาในช้ประหยัดพลังงาน สามารถนำไปติดตั้งที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมนำแอพพลิเคชั่นของไลน์ เข้ามาใช้เชื่อม ใช้การสแกนจากหน้าจอ รอการทำงานของระบบสัก 10 วินาที ขันตอนต่างๆ ก็แล้วเสร็จ ตรวจสอบสถานที่ทิ้งขยะ การสะสมคะแนน คิดคำนวนคะแนนที่ได้ จจากการนำขยะมาทิ้ง เพื่อนำมาแลกของรางวัล ในการสร้างแรงจูงใจจากการสะสมคะแนน ใช้เวลา 2 เดือนเศษ ซึ่งวันนี้ได้นำมาทดลองใช้งานระบบต่างๆ

อย่างไรก็ตามในตอนนี้ อยู่ช่วงทดลองระบบความเสถียรในการใช้จริง เพื่อต่อยอดไปสู่กระบวนใช้งานได้จริงในอนาคต โดยโครงการนี้มุ่งหวังให้สร้างแรงจูงใจคนรักษ์สิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ ก่อนจะทิ้งลงไป จะทำให้การกำจัดขยะของเสียต่างๆ เป็นการใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ จากนี้หากเสร็จสมบูรณ์จากถังขยะต้นแบบจะได้ช่วยการระบบจัดการขยะที่ดีต่อไป

โปลิปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่มากที่สุดกว่า 4 พัน และรับน้องสั้นที่สุดในประเทศไทยเพียง 30 วินาที

โปลิปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่มากที่สุดกว่า 4 พัน และรับน้องสั้นที่สุดในประเทศไทยเพียง 30 วินาที  โดยกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ที่วิทยาลัยฯได้จัดขึ้นเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 30 ปี มีนักศึกษาระดับ ปวช.และปวส. จำนวน 1,700 คน ที่เข้ามาเรียนในวิทยาลัยฯ เป็นปีการศึกษาแรก โดยนักศึกษารุ่นพี่ทั้งหมดรวมกว่า 2,400 คน จะปรบมือต้อนรับขณะที่นักศึกษารุ่นน้องทั้งหมดที่ยืนเข้าแถวจะยกมือไหว้กล่าวสวัสดี รุ่นพี่


วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา จัดกิจกรรม ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2567 ให้แก่นักศึกษาระดับชั้น ปวช 1 และปวส 1 รวมกันประมาณ 1,600 คน มีผู้ปกครอง เข้าร่วมรวมจำนวน เกือบ 4,000 คน มีอาจารย์สมมิทธิ์ ทิพยมณฑลผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ อาจารย์ฉลวย พันธ์ทองผู้อำนวยการ พร้อมคณะผู้บริหาร และคณาจารย์ พบปะพูดคุย รวมถึงชี้แจงกฏระเบียบ ข้อแนะนำต่างๆ โดยมีวาระของผู้บริหาร ในการกล่าวต้อนรับนักศึกษาและผู้ปกครองทั้ง 2 ชั้นปี และการแนะนำเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในวิทยาลัย ทั้งเรื่องของวิชาการ กิจกรรม รวมถึงการประชาสัมพันธ์โควตาการศึกษาในปีการศึกษา 2568 ซึ่งเปิดให้สมัครในวันนี้ เป็นวันแรก (1มิถุนายน 2567) ซึ่งได้มีนักศึกษาและผู้ปกครองเดินทางมาสมัครกันอย่างเนืองแน่นตลอดทั้งวัน อีกทั้งยังมีการเข้าพบที่ปรึกษา ในการทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์ เพื่อร่วมกันดูแลนักศึกษา ตลอดหลักสูตรต่อไป


ส่วนวันเปิดการศึกษาวันแรก ทางวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา ถือเป็นสถานบันอาชีวะแห่งเดียวในประเทศ จัดกิจกรรมรับน้องสั้นที่สุดของประเทศไทย โดยอาจารย์ฉลวย พันธ์ทอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ได้กล่าวให้การต้อนรับและให้โอวาทกับนักศึกษาใหม่ ทั้งระดับ ปวช.และปวส. จำนวน 1,700 คน ที่เข้ามาเรียนในวิทยาลัยฯ เป็นปีการศึกษาแรก โดยนักศึกษารุ่นพี่ทั้งหมดรวมกว่า 2,400 คน จะปรบมือต้อนรับขณะที่นักศึกษารุ่นน้องทั้งหมดที่ยืนเข้าแถวจะยกมือไหว้กล่าวสวัสดี รุ่นพี่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการต้อนรับน้องใหม่ของวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา


โดยกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ที่วิทยาลัยฯได้จัดขึ้นเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 30 ปี รูปแบบการรับน้องใหม่จะแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอื่นโดยนักศึกษาทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องกว่า 4,100 คน จะรวมตัวกันที่สนามฟุตบอล เพื่อรับฟังโอวาทจากคณาจารย์หลังจากนั้นจะเป็นกิจกรรมการต้อนรับน้องใหม่ โดยรุ่นพี่จะปรบมือต้อนรับส่วนรุ่นน้องจะยกมือไหว้พร้อมกล่าวคำขอบคุณ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดใช้เวลาเพียง 30 วินาทีทั้งนี้ กิจกรรมรับน้องใหม่ของโปลิฯ จัดขึ้นเพื่อสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง ซึ่งทางคณาจารย์ได้ปลูกฝังให้นักศึกษาทุกคนมีความรัก ความสามัคคี ให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การจัดกิจกรรมดังกล่าวนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้นักศึกษารุ่นพี่ นำรุ่นนักศึกษาใหม่ไปรับน้องนอกสถาบัน ซึ่งถือว่าผิดระเบียบของวิทยาลัยฯ และอาจจะเกิดความสูญเสียได้ในที่สุด

อำเภอเชียงดาวเนื้อหอม กลุ่มนักพัฒนาอสังหาฯ กทมเข้ามาสร้างแลนด์มาร์คกลิ่นอายสวิตเซอร์แลนด์

อำเภอเชียงดาวเนื้อหอม กลุ่มนักพัฒนาอสังหาฯ กทมเข้ามาสร้างแลนด์มาร์คกลิ่นอายสวิตเซอร์แลนด์ ไม่แพ้เขาใหญ่ ไม่หวั่นPM2.5 เพราะในกทม.เจอมาทั้ง 12 เดือน แต่เชียงใหม่เพียง 2 เดือนเศษ ต้องมาเห็นกับตา ชม 3 ภูเขา ป่าไม้โดยเฉพาะดอยลวงเชียงดาว มีทะเลหมอก ท่ามกลางธรรมชาติเงียบสงบ ปรับพื้นที่เกือบ 200 ไร่ เป็นบ้านพักหลังที่ 2 พร้อมนำร้านอาหาร ค่าเฟ่ กาแฟแนวผจญภัยจากจังเกิลเดอะคาเฟ สไตล์โป่งแยงจังเกิ้ล โคสเตอร์&ซิปไลน์ เข้ามาให้บริการเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ของตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อีกหนึ่งพื้นที่เป้ามายของคนต่างจังหวัด โดยเฉพาะจากกรุงเทพมหานคร ความเป็นธรรมชาตพื้นป่า แหล่งท่องเที่ยยวตามธรรมชาติน้ำตก มีมีถ้ำ และวัดชื่อดังของสามู กลุมนักพัฒนาอสังหริมทรัพย์ จากเชียงใหม่ และกรุงเทพ ได้เข้าพัฒนาพื้นที่ดินกว่า 200 ไร่ จากถนนโชตา สามแยกถนนเชียดาว ไปอำเภอพร้าว ขับไป 8 กิโลเมตร ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ถึงที่ตั้งโครงการมนต์เสน่ห์ เชียงดาว ที่ดินแบ่งขาย นางสาว อารัญญา ทะรินทร์ เจ้าของจังเกิลเดอะคาเฟ กล่าวว่า ได้เข้ามาพัฒนาที่ดินพื้นที่ ได้ประมาณ 1 เดือนกำลังปรับพื้นที่แบ่งแปลงที่ดินเป็น 2 ส่วนโดยส่วนแรกเป็นที่ดินแบ่งขาย สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยจำนวน 156 แปลง อีกส่วนหนึ่งจัดเตรียมทำร้านอาหาร คาเฟ สไตล์จังเกิ้ล โคสเตอร์&ซิปไลน์ หรือร้านกาแฟผจญภัย ที่มีสาขาโป่งแยง อำเภอแม่ริม สาขาบ้านถวาย อำเภอหางดง และสาขาแก่งกึ้ด อำเเภอแม่แตง เตรียมนำเข้ามาที่บริเวณบนเนื้อที่เกือบ 30 ไร่ เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอเชียงดาว ซึ่งสภาพอากาศ บรรยากาศ ที่มีดอย 3 ดอยอยู่รอบพื้นที่จะสามารถมองเห็นดอยหลวงเชียงดาว ด้านข้างเป็นดอยผาแดง ด้านหลังติดดอยสามเศร้า บรรยากาศตั้งแต่ช่วงฤดูฝนยาวไปจนถึงสิ้นสุดฤดูหนาวจะมีทะเลหมอก อากาศที่เย็นสบาย ท่ามกลางธรรมชาติของพื้นที่ป่า เหมาะสำหรับคนชื้นชอบความเป็นธรรมชาติ ความสงบเงียบ มีบ้านพักหลังที่ 2 หรือ 3 ไว้มาพักผ่อนสบายๆ


ที่สำคัญการเข้ามาพัฒนาที่ดินในจุดนี้ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนให้คึกคักมากขึ้น ชาวบ้านที่มีการทำการเกษตรได้ขายพืชผัก ผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะช่วงนี้เห็ดถอบ หรือเห็ดเผาะออก ชาวบ้านก็นำมาขายเพราะที่มีคนงานจากในตัวเมืองเดินทางเข้ามาจำนวนมาก พร้อมกับการจ้างงานชาวบ้านในพื้นที่ กำลังเป็นอีกหนึ่งทำเลทองของอำเภอเชียงดาว และแหล่งท่องเที่ยว

ด้าน 2 นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่เข้ามร่วมนาย ชัชชัย คุปต์รุจิวงศ์ และนายนายภาคิน แก้วธนัญธร จากกรุงเทพมหานคร กล่าวว่าพื้นที่แห่งนี้ถือเป็นสวรรค์ของคนกรุงเทพเพราะบรรยากาศดีมาก มองไปมีดอย มีพื้นที่ป่า อากาศเย็นสบายๆ เงียบสงบ ด้านหน้าทีลำธารไหลผ่าน คนกรุงเทพมองหาบ้านหลังที่ 2 และที่ 3 เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อน จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย กำลังเป็นที่ต้องการของคนกรุงเทพเป็นอย่างมาก จังหวัดเชียงใหม่ถึงจะมีปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ฝุ่นPM2.5 ก็ตาม แต่มองว่าไม่ได้หวั่นกลัวเพราะเกิดเพียง 2 เดือนเศษ แต่ในกรุงเทพ เจอฝุ่นควันคาร์บอนจากรถเจอทั้ง 12 เดือน ตอนแรกก็หวั่นไว้เช่นกันแต่พอได้มาสัมผัสความสวยงามของธรรมชาติจุดนี้แล้วบอกเลยว่าฝุ่นPM2.5 ไม่กระทบ

เพียงเปิดให้จองวันแรก วันที่ 3 มิถุนายน 2567 มีลูกค้าจากกรุงเทพ และต่างจังหวัดสนใจจองเข้ามาแล้ว 20 กว่าแปลง ขาดว่าภายใน 3 เดือนนี้จะถูกจองจนหมด บอกได้เลยว่าเป็นอีกหนึ่งทำเลทองของที่พักและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของอำเภอเชียงดาว เพราะบรรยากาศที่นี่สวิสเซอร์แลนด์เชียงดาว ไม่แพ้เขาใหญ่ ตอนนี้อยู่ระหว่างการปรับพื้นที่ให้แล้วเสร็จ นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ที่พักตากอากาศ ทำให้ที่ดินในย่านนี้จะสูงขึ้นจนเป็นที่สนใจของเหล่าบรรดานักลงทุนเข้ามาเพิ่มมากขึ้น

หลังพบผู้หญิงสูบบุหรี่มากขึ้น นศ.โปลิ คิดค้นลิปสติกหญ้าดอกขาวลดบุหรี่ ทีมครูปั้นเด็กปรุงสุดยอดนวัตกรรมใหม่

หลังพบผู้หญิงสูบบุหรี่มากขึ้น นศ.โปลิ คิดค้นลิปสติกหญ้าดอกขาวลดบุหรี่ ทีมครูปั้นเด็กปรุงสุดยอดนวัตกรรมใหม่ จากอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตอันดับที่สองในประเทศไทย โดยเฉพาะเยาวชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในปีหนึ่งมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่กว่า 40,000 คน และมีผู้ป่วยใหม่จากมะเร็งปอดปีละ 12,000 คน


วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ คว้าโล่ห์รางวัลอันทรงเกียรติระดับประเทศ ระดับดีเลิศ สุดยอดนวัตกรรมสุขภาวะ “ลิปสติกหญ้าดอกขาวลดบุหรี่” ภายใต้โครงการพัฒนาระบบส่งเสริมห้องเรียนนวัตกรรมสุขภาวะในอาชีวศึกษา จาก ส.ส.ส. จาก 30 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกจากทั่วประเทศ ในโครงการพัฒนาระบบส่งเสริมห้องเรียนนวัตกรรมสุขภาวะในอาชีวศึกษา (อาชีวิต) จากความสำเร็จของรางวัลระดับดีเลิศ ลิปสติกจากหญ้าดอกขาวลดการสูบบุหรี่ ทีมครูปั้นเด็กปรุง มีอาจารย์ญาษิดา ธรรมปัญโญ แลอาจารย์ภัสราภรณ์ ปวงหล้า อาจารย์ที่ปรึกษา ผลงานของนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ จำนวน 5 คน มีนายเกรียติพัฒน์ แสนคำ ,นางสาวอรวิชญา ทองเหลือง ,นางสาวณัชยา อาทิตย์ ,นางสาวปณิตา มงคล และนางสาวอารยา บุญมา ได้ผ่านการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับห้องเรียนนวัตกรรม ออกแบบห้องเรียนแห่งการเรียนรู้โดยการใช้ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ควบคู่กับนโยบายของทางวิทยาลัยที่ผลักดันและส่งเสริมให้เกิดห้องเรียนนวัตกรรมและกระบวนการในการสร้างสรรค์งานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ โดยอาศัยฐานของวิชาชีพ ทั้งด้าน ช่างอุตสาหกรรม บริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการท่องเที่ยวการโรงแรม เพื่อต่อยอดการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์เข้าสู่เวทีการแข่งขัน และการเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ให้กับชิ้นงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ได้อย่างยั่งยืน


จากอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตอันดับที่สองในประเทศไทย โดยเฉพาะเยาวชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในปีหนึ่งมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่กว่า 40,000 คน และมีผู้ป่วยใหม่จากมะเร็งปอดปีละ 12,000 คน ทีมครูปั้นเด็กปรุง พร้อมกับทีมวิจัยได้เกิดแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลิปสติกที่สามารถช่วยลดการสูบบุหรี่ โดยใช้สมุนไพรจากธรรมชาติ หญ้าดอกขาว ซึ่งมีสรรพคุณที่สามารถเปลี่ยนรสชาติของบุหรี่ มีคุณสมบัติเมื่อถูกสัมผัสลิ้นและริมฝีปากจะทำให้รู้สึกชา ทำให้ผู้สูบรู้สึกไม่อยากสูบอีกต่อไป


โดยทีมผู้วิจัยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการให้คำปรึกษาร่วมกับทีมงานวิจัย และทำการรับรองผลผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดนวัตกรรมสุขภาวะ “ลิปสติกหญ้าดอกขาวลดบุหรี่” ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น ทีมงานและผู้เชี่ยวชาญได้ทำการทดลองผลิตลิปสติกหญ้าดอกขาวในรูปแบบของลิปบาล์มที่ไม่มีสี โดยมีการพัฒนาและปรับปรุงสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้ทดลองกับกลุ่มนักศึกษาและอาสาสมัครที่มีความต้องการเลิกสูบบุหรี่ โดยการทาลิปสติกหญ้าดอกขาวเป็นประจำทุกวันและติดตามผลทุกๆ 2 สัปดาห์เป็นระยะเวลา 4-6 สัปดาห์


ผลลัพธ์ของการทดลองพบว่าลิปสติกหญ้าดอกขาวสามารถลดความอยากสูบบุหรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย พบว่าร้อยละ 62 ของผู้ใช้สามารถลดและเลิกการสูบบุหรี่ได้ภายใน 4-6 สัปดาห์ และร้อยละ 69.35 ของผู้ใช้สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้โดยมีสาเหตุสำคัญ คือ ชาริมฝีปาก กินอาหารไม่อร่อย และไม่อยากสูบบุหรี่อีกเลยทั้งนี้ทีมผู้วิจัยได้มีการต่อยอดเชิงพาณิชย์เพื่อให้นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงและสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ในการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์จริงได้อย่างยั่งยืน


ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมสุขภาวะ ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จ ที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการบริหารจัดการห้องเรียนนวัตกรรมของวิทยาลัยฯ โดยรวมที่เป็นเลิศ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนมาตลอด 46 ปี และยังสามารถเป็นแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างให้กับสถานศึกษาอื่น ๆ ในการพัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเยาวชนและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผาจัดพิธีกล่าวสัตย์ปฏิญาณตน ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผาจัดพิธีกล่าวสัตย์ปฏิญาณตน ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 เวลา 9.00น. อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา นำโดย นาย มัญญา นาคพน หัวหน้าอุทยานฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา

จัดพิธีกล่าวสัตย์ปฏิญาณตน ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ภายในพิธีเจ้าหน้าที่ฯ ทุกนาย กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณตนและดื่มน้ำมนต์สัตย์ปฏิญาณ เพื่อปลุกจิตสำนึกในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่

โดยมีท่านพระครูสถิตธรรมาภิรักษ์เจ้าคณะอำเภอไชยปราการ เจ้าอาวาสวัดป่าไม้แดง เป็นประธานเจ้าพิธี