ข่าวทั่วเมือง » (มีคลิป) สวพส.จัดวันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ลดการเผา PM 2.5

(มีคลิป) สวพส.จัดวันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ลดการเผา PM 2.5

21 กุมภาพันธ์ 2024
364   0

Spread the love

ณ บ้านแม่วาก ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “วันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ลดการเผา และฝุ่นละออง PM 2.5 แบบบูรณาการและมุ่งเป้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 500 คน ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, คณะผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร, เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง, คณะทำงานบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม, ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, เกษตรกรในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม, กลุ่มเกษตรกรเครือข่าย และประชาชนทั่วไป

ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายสำคัญในการสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิต ทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ละออง PM 2.5 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. นับเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาพื้นที่สูง ป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 โดยเฉพาะการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในภาคการเกษตรอย่างครบวงจร โดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากโครงการหลวง และจากผลงานวิจัยในการปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างรายได้และยังช่วยลดการเผาในพื้นที่เกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฝุ่น PM 2.5 ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ โดยการบริหารจัดการฐานข้อมูล การพัฒนาแหล่งน้ำ การจัดการเศษวัสดุการเกษตรเพื่อนำไปทำปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินและชีวมวล รวมทั้ง การปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP PM 2.5 Free) และการเชื่อมโยงตลาดในการรองรับผลิตผลที่ได้รับการรับรอง เพื่อลดการเผาและฝุ่นควัน PM 2.5 โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการขยายผลการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

นางสาวเพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ในนามของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง หรือ สวพส. กล่าวว่า สวพส. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินงาน “โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง” มุ่งเน้นดำเนินการเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบครบวงจร โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ แก้ไขปัญหาให้กับชุมชนตามบริบทพื้นที่อย่างยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งมีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากผลงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนา โดยเฉพาะ “การปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เพื่อสร้างรายได้เพิ่มและยังช่วยลดการเผาในพื้นที่เกษตร โดยมีชุมชนหรือพื้นที่ต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จ (Good Practice) ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

ด้าน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ก่อให้เกิดผลสำเร็จและประโยชน์ในด้านต่าง ๆ แก่ชุมชนบนพื้นที่สูงจำนวนมาก จึงได้นำผลสำเร็จจากพื้นที่ต้นแบบดังกล่าวขยายผลไปยังชุมชนบนพื้นที่สูงอื่น ๆ ภายใต้ความร่วมมือของ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) ชุมชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน ควบคู่กับการประยุกต์ใช้งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับปัญหาและบริบทภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ อันจะนำไปสู่การลดปัญหาและบริหารจัดการจุดความร้อน (Hotspot) และพื้นที่เผาไหม้ (Burn Scar) ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งกำเนิดของฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่เป้าหมายเร่งด่วนภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ

ดังนั้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ ลดหรือแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นควันในภาคเกษตรบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นระบบครบวงจร ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร สวพส. จึงได้จัดงาน “วันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ลดการเผา และฝุ่นละออง PM 2.5 แบบบูรณาการและมุ่งเป้า” ณ บ้านแม่วาก ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 500 คน ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, คณะผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร, เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง, คณะทำงานบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม, ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, เกษตรกรในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม, กลุ่มเกษตรกรเครือข่าย และประชาชนทั่วไป โดยมีกิจกรรมฐานเรียนรู้ 6 ฐาน ประกอบด้วย 1)การจัดทำและบริหารจัดการฐานข้อมูลนิทรรศการแสดงผลสำเร็จของงานวิจัยและงานพัฒนาที่สำคัญ ทั้งในเชิงพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง และในแต่ละมิติของการพัฒนา ,2)สร้างป่าสร้างรายได้ ไม้เศรษฐกิจ ไม้ผล ไม้ยืนต้น กาแฟ ,3)การจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร (อัดก้อน ชีวมวล อาหารสัตว์) ,4) การจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร (ไถกลบ คันปุ๋ย ปุ๋ยหมัก) ,5)พืชไร่ในระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ6)ผักอินทรีย์ในโรงเรือน + Eco Brand