https://youtu.be/mTgubTKeSoA
ที่ONE NIMMAN ZONE ONE SALA จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีพิธีเปิดงาน World Food Safety Day 2025 “Grow Well Eat Well กระบวนการผลิตที่ดี และการบริโภคที่ปลอดภัย มีคุณภาพ สู่อนาคตที่ยั่งยืน” โดยมีนายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิรักไทย พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในพิธีเปิดในครั้งนี้





จังหวัดเชียงใหม่เป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งในด้านการผลิตทางการเกษตรและการท่องเที่ยว ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ผสมผสานระหว่างพื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่สูง ทำให้สามารถปลูกพืชอาหารได้หลากหลายชนิดตลอดทั้งปี ส่งผลให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งผลิตพืชอาหารที่สำคัญของภาคเหนือและของประเทศ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความนิยมเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในท้องถิ่นนอกจากจะถูกนำมาใช้บริโภคภายในพื้นที่แล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสของการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัยและการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจมากจากผู้บริโภคทั่วโลก ผู้คนหันมาเลือกอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ใส่ใจที่มาของวัตถุดิบ และสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยที่คำนึงถึงอาหารปลอดภัย และระบบนิเวศ ซึ่งแนวโน้มนี้ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียงให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย เช่น มาตรฐาน GAP และ Organic ที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร รวมถึงการแปรรูปและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับตลาดที่ต้องการคุณภาพ ปลอดภัย และความยั่งยืน


เพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มดังกล่าว และเพื่อร่วมรณรงค์ในระดับสากลตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่กำหนดให้วันที่ 7 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันอาหารปลอดภัยโลก (World Food Safety Day) มูลนิธิรักษ์ไทยร่วมกับภาคีเครือข่ายจึงมีแผนการจัดกิจกรรม “World Food Safety Day 2025: Grow Well, Eat Well” ภายใต้แนวคิด “กระบวนการผลิตที่ดี และการบริโภคที่ปลอดภัย มีคุณภาพ สู่อนาคตที่ยั่งยืน” เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย สร้างความตระหนักในหมู่ประชาชน ส่งเสริมบทบาทของเกษตรกรรายย่อยและผู้ผลิตในท้องถิ่น และเปิดโอกาสทางการตลาดให้กับผลผลิตที่ปลอดภัยจากชุมชน สู่ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพอย่างแท้จริง

กิจกรรมในครั้งนี้ยังมีเป้าหมายในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการพัฒนา “ระบบอาหารปลอดภัย” ที่เชื่อมโยงมิติของสุขภาพ เศรษฐกิจฐานราก และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยโดยรวม โครงการ “เพาะดี กินดี” เป็นหนึ่งในโครงการของมูลนิธิรักษ์ไทยที่ดำเนินงานในพื้นที่ภาคเหนือ ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยให้สามารถพัฒนาระบบการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนและงานด้านการตลาด โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด ปัจจุบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาศักยภาพจากโครงการและการรับรองมาตรฐานพืชอาหารปลอดภัย GAP จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ สามารถผลิตและจำหน่ายพืชผักที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP สู่ตลาดประมาณ 11,000 กิโลกรัมต่อเดือนส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น



เพื่อร่วมรณรงค์ในโอกาสวันอาหารปลอดภัยโลก (World Food Safety Day) และเผยแพร่ประสบการณ์และบทเรียนของเกษตรกร มูลนิธิรักษ์ไทย ร่วมกับภาคีเครือข่าย จึงกำหนดจัดกิจกรรม “World Food Safety Day 2025: Grow Well, Eat Well” ภายใต้แนวคิด “กระบวนการผลิตที่ดี และการบริโภคที่ปลอดภัย มีคุณภาพ สู่อนาคตที่ยั่งยืน”และภายในงานมีการจัดนิทรรศการ และบูธจำหน่ายผักปลอดภัยและผลิตภัณฑ์ชุมชน มีการจัดแสดงบูธแนะนำโครงการ และองค์กรภาคีนิทรรศการโครงการ เพาะดี กินดี Syngenta Thailand มูลนิธิรักษ์ไทย และภาคีเครือข่าย บูธจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยจากชุมชนและวิสาหกิจท้องถิ่น พืชผักพันธุ์ท้องถิ่น และพืชผักปลอดภัย ข้าวพันธุ์ท้องถิ่นจากชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง, กาแฟ จากเกษตรกรผู้ปลูก และแปรรูปกาแฟ, ผลิตภัณฑ์จากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและฐานชีวภาพ เช่น ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติของชุมชนคนเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ ผลิตภัณฑ์หวายจากเกษตรกรผู้ปลูกหวาย, Work Shop อาหารปลอดภัย จากเกษตรกรผู้ปลูก สู่เมนูยอดนิยม (ซูชิข้าวดอย สลัดโรล กาแฟดริป), กิจกรรมบนเวที กิจกรรมสร้างความสนุกสนาน กระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมงาน และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย, กิจกรรมสื่อสาร พืชอาหารปลอดภัย และมีบรรยายพิเศษเรื่อง “GAP ไม่ใช่แค่ใบรับรอง…แต่คือโอกาสของเกษตรกรายย่อย” โดย ผู้แทนจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เชียงใหม่,สัมภาษณ์พิเศษ เกษตรกรตัวเล็ก ผู้ผลิตพืชอาหารปลอดภัย สู่อนาคตที่ยั่งยืน คน ดิน น้ำป่า อีกด้วย



